การจัดการ และการสนับสนุนสิทธิ และความเป็นอยู่ของคนงานต่างด้าว

แนวทางจัดการ และสนับสนุนสิทธิความเป็นอยู่ของคนงานต่างด้าวอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

เมื่อสามารถหาคนงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทยได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว นอกเหนือจากเรื่องของค่าจ้าง และการพาไปรายงานตัวทุก 90 วัน หรือตามที่สัญญาได้ระบุ อีกสิ่งหนึ่งที่นายจ้างทุกคนต้องคำนึงถึงไว้เป็นสำคัญก็คือเรื่องของสิทธิแรงงานขั้นพื้นฐาน รวมถึงการดูแลเรื่องสุขภาพ และความเป็นอยู่ของลูกจ้างคนงานต่างด้าวเหล่านี้ด้วย เพราะพวกเขาก็ต้องได้รับการดูแลตามกฎหมายอย่างเท่าเทียม และมีคุณภาพชีวิตที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต

ในบทความนี้บริษัท เท็นไมล์เลเบอร์กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทนําเข้าแรงงานต่างด้าว MOU เราก็จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับวิธีการจัดการ และสนับสนุนสิทธิความเป็นอยู่ของคนงานต่างด้าวอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อช่วยให้นายจ้างทุกคนเข้าใจในสิทธิตรงนี้ พร้อมกับปฏิบัติตามกฎได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง

ขั้นตอนการดูแลความเป็นอยู่ให้กับคนงานต่างด้าวเมื่อมาถึงประเทศไทยครั้งแรก

มาเริ่มต้นกันที่หัวข้อแรกกันเลยดีกว่าว่า เมื่อเรารับแรงงานต่างด้าวมาอยู่ในความดูแลของเราแล้ว เราควรปฏิบัติ และจัดการอย่างไรบ้าง โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 หัวข้อใหญ่ ๆ ได้ดังนี้

1. การอบรมความรู้เกี่ยวกับประเทศไทย
สิ่งแรกที่เหล่าคนงานต่างด้าวควรได้รับ คือการเรียนรู้เกี่ยวกับมารยาท และวัฒนธรรมของประเทศไทยว่าสิ่งไหนสามารถทำได้ และสิ่งไหนไม่ควรทำ รวมถึงการทำความเข้าใจกับประเทศไทยให้มากขึ้น เพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิต การปรับตัว และการพบปะกับคนไทยคนอื่น ๆ เพราะต่อให้คนงานต่างด้าวจะมาจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาว กัมพูชา และพม่า ที่มีวัฒนธรรมร่วมหลายอย่างใกล้เคียงกัน แต่ก็ต้องยอมรับว่ามีหลายอย่างที่ประเทศของพวกเขาแตกต่างจากประเทศไทยอยู่มาก หากนายจ้างไม่มีการเตรียมพร้อมด้านนี้ช่วยเหลืออีกแรงหนึ่ง ก็อาจจะทำให้พวกเขาปรับตัวได้ช้า และไม่มีความสุขได้

2. สัญญาจ้าง
ถึงแม้ว่าเราจะมีการดำเนินเรื่องให้คนงานต่างด้าวที่เราว่าจ้างเข้ามาในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว แต่ก็ต้องมีส่วนของสัญญาจ้างอีกส่วนหนึ่งมาคอยกำหนดหน้าที่อีกที และเป็นการยืนยันว่าคนงานต่างด้าวจะได้ตำแหน่ง และค่าจ้างตรงตามต้องการ รวมถึงทางฝ่ายนายจ้างก็สามารถไว้ใจได้ว่าพวกเขาจะไม่หนี หรือทำผิดสัญญาไปไหน

สิทธิแรงงานขั้นพื้นฐานของคนงานต่างด้าวในไทยมีอะไรบ้าง?

สำหรับสิทธิแรงงานขั้นพื้นฐานของคนงานต่างด้าวนั้น จะเป็นเรื่องของประกันสังคม และประกันสุขภาพเป็นหลัก เพื่อคอยดูแลในยามที่พวกเขาเกิดความเจ็บป่วย โดยทางกรมจัดหางานก็ได้อธิบายรายละเอียดแยกเป็นทีละประเภทดังนี้

1. สิทธิประกันสังคม
คนงานต่างด้าวซึ่งเป็นผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิด้านการรักษาพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล หรือเครือข่ายของสถานพยาบาลนั้น โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย โดยต้องขึ้นทะเบียน และจ่ายเงินสมทบเข้าสู่ระบบประกันสังคมตามพระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ. 2533 และได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 ดังนี้

  • กองทุนประกันสังคม: คนงานต่างด้าวต้องขึ้นทะเบียนกับสำนักงานประกันสังคม และจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมในอัตรา 5% ของค่าจ้าง นายจ้างจ่ายสมทบ 5% รัฐบาล 2.75% ได้รับสิทธิประโยชน์ 7 กรณีคือ กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย ทุพพลภาพ ตาย ซึ่งไม่เนื่องจากการทำงาน รวมทั้งกรณีคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน
  • กองทุนเงินทดแทน: นายจ้างของคนงานต่างด้าวเป็นผู้จ่ายสมทบฝ่ายเดียวในอัตรา 0.2 - 1% ของค่าจ้างตามความเสี่ยงของประเภทกิจการ โดยได้รับสิทธิประโยชน์ในกรณีประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยทุพพลภาพ สูญหาย หรือตายเนื่องจากการทำงานกลุ่มแรงงานต่างด้าวนำเข้าตาม MOU ที่ทำงานในประเภทงานรับใช้ในบ้าน เกษตร ปศุสัตว์ ประมง ค้าขายที่มิใช่ธุรกิจ ไม่ต้องเข้าสู่ระบบประกันสังคม แต่สามารถเข้าสู่ระบบประกันสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข โดยการซื้อประกันสุขภาพ 1,600 บาทต่อปี

2. สิทธิประกันสุขภาพ
สิทธิการรักษาพยาบาลตามระบบประกันสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข คนงานต่างด้าวต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพ และทำประกันสุขภาพกับสถานพยาบาลที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด ซึ่งต้องชำระค่าตรวจสุขภาพ 500 บาท และค่าประกันสุขภาพ 1,600 บาทต่อปี จึงจะได้เข้าสู่ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าเช่นเดียวกับคนไทย การขอรับบริการตามโครงการประกันสุขภาพนั้น สามารถเลือกสถานพยาบาลที่ต้องการเข้ารับการรักษาพยาบาล แรงงานต่างด้าวสามารถใช้สิทธิเข้ารับการรักษาพยาบาลได้ณ สถานพยาบาลที่แจ้งไว้ในครั้งแรก

กฎหมายเรื่องจำนวนวันทำงานที่คุ้มครองคนงานต่างด้าว

นอกเหนือจากเรื่องของการให้ความรู้เพื่อการดำรงชีวิตในประเทศอย่างราบรื่น และประกันสุขภาพต่าง ๆ แล้ว ก็ยังมีเรื่องของกฎหมายคุ้มครองต่าง ๆ เกี่ยวกับจำนวนชั่วโมงการทำงานที่นายจ้างควรทราบ และจัดการให้ดี โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. เวลาทำงานปกติต้องไม่เกิน 8 ชั่วโมง/วัน และไม่ทำงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และความปลอดภัยเกิน 7 ชั่วโมง/วัน
  2. การทำงานล่วงเวลาต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง แต่ถ้าเป็นงานฉุกเฉิน ไม่สามารถหยุดได้ นายจ้างอาจให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้เท่าที่จำเป็น
  3. การทำงานในวันหยุด ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง เว้นแต่งานที่ต้องทำติดต่อกันไปถ้าหยุดจะเสียหายแก่งาน และงานฉุกเฉิน หรือกิจการโรงแรม สถานมหรสพ งานขนส่ง ร้านอาหาร ร้านขายเครื่องดื่ม สโมสร สมาคม หรือสถานพยาบาล นายจ้างอาจให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดได้เท่าที่จำเป็น
  4. เวลาพักต้องไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง หลังจากลูกจ้างทำงานมาแล้วไม่เกิน 5 ชั่วโมงติดต่อกัน สำหรับลูกจ้างเด็ก หลังจากทำงานมาแล้วไม่เกิน 4 ชั่วโมงติดต่อกัน
  5. ต้องมีวันหยุดประจำสัปดาห์ไม่น้อยกว่า 1 วัน/สัปดาห์ วันหยุดตามประเพณีไม่น้อยกว่า 13 วัน/ปี โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติ ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 1 ปีมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีไม่ น้อยกว่า 6 วันทำงาน/ปี
  6. ต้องมีวันลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง ได้รับค่าจ้างตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 30 วัน/ปี
  7. สามารถลากิจได้ตามที่กำหนดในข้อบังคับการทำงาน
  8. มีวันลาเพื่อคลอดบุตร ลูกจ้างหญิงมีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน นับรวมวันหยุดที่มีระหว่างวันลาด้วยโดยได้รับค่าจ้างไม่เกิน 45 วัน


ครบถ้วนแล้วสำหรับสิทธิแรงงานขั้นพื้นฐานของคนงานต่างด้าวที่นายจ้างต้องศึกษาไว้ให้ดี ที่บริษัท เท็นไมล์เลเบอร์กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทนําเข้าแรงงานต่างด้าว MOU เรานำมาฝากกันในบทความนี้ และหากธุรกิจ ร้านค้า หรือบริษัทใดกำลังมองหาบริษัทนําเข้าแรงงานต่างด้าวอยู่ล่ะก็ บริษัท เท็นไมล์เลเบอร์กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทนําเข้าแรงงานต่างด้าว MOU ตัวแทนในการจัดหาแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ผู้ประกอบการสามารถระบุความต้องการได้ การันตีความไว้วางใจ และความเชื่อมั่นจากบริษัทชั้นนำหลายแห่งตลอดระยะเวลานานกว่า 10 ปี รับจัดส่งคนงาน หาคนงานต่างด้าว นําเข้าแรงงานต่างด้าว MOU หมดปัญหางานเอกสารที่ทำให้นายจ้างต้องกังวลใจ



ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับการหาคนงานต่างด้าว

โทร. 098-270-4840, 086-528-4820
Email : 10milelabourgroup@gmail.com, 10mile.customer@gmail.com