การบริหารจัดการ และสนับสนุนคนงานต่างด้าวให้สอดคล้องกับกฎหมายแรงงาน

การบริหารจัดการคุ้มครองสิทธิ และหลักประกันตามกฎหมายแรงงานต่างด้าว คนงานต่างด้าวที่นายจ้างต้องรู้

คนงานต่างด้าวเป็นกำลังด้านแรงงานที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย ช่วยเพิ่มอุปทานแรงงานของประเทศให้สามารถสร้างผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้น หากประเทศเราไม่มีคนงานต่างด้าวเข้ามาช่วยเหลือในการขับเคลื่อนด้านแรงงาน ผู้ประกอบการต่าง ๆ อาจได้รับแรงกดดันด้านค่าจ้างแรงงาน และประสบกับปัญหาขาดแคลนแรงงาน ซึ่งจะส่งผลให้การส่งออกสินค้าต่าง ๆ น้อยลง ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ หรือ GDP ก็จะลดต่ำลงด้วย

การบริหารจัดการคนงานต่างด้าวให้มีความสอดคล้องกับกฎหมายแรงงาน จะช่วยให้ประเทศเกิดความมั่นคงด้านแรงงาน ส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจในระดับมหภาค และยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศอีกด้วย ดังนั้นการดูแลให้สิทธิคุ้มครองแก่แรงงานทุกคน ทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม ไม่ว่าจะเป็นแรงงานไทย หรือแรงงานต่างด้าวให้มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ไม่เลือกปฏิบัติ และให้เป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการควรพึงทำ

การบริหารจัดการดูแลสิทธิ และสนับสนุนคนงานต่างด้าวให้ทำงานอย่างสวัสดิภาพตามกฎหมายแรงงาน

1. ดูแลสิทธิประโยชน์ของคนงานต่างด้าวตามหลักสิทธิมนุษยชน
คนงานต่างด้าวเป็นแรงงานสำคัญในกิจการ ผู้ประกอบการควรดูแล และให้ความคุ้มครองแก่แรงงานทุกคนอย่างไม่เลือกปฏิบัติ โดยเฉพาะปัญหาการบังคับใช้แรงงานในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งผิดกฎหมายไม่ว่าแรงงานนั้นจะเป็นชนชาติใดก็ตาม ผู้ประกอบการต้องคุ้มครองสิทธิ และหลักประกันตามกฎหมายแรงงานต่างด้าว ให้มีความเท่าเทียมกับแรงงานคนไทยตามหลักสิทธิมนุษยชน เช่น มีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่เป็นไปตามกฎหมายกำหนด การรักษาพยาบาลในกรณีเกิดอุบัติเหตุระหว่างการทำงานของคนงานต่างด้าว ให้ได้รับการดูแล และรักษาที่ดี มีวันหยุด วันลา และได้รับสวัสดิการจากการทำงานอย่างเป็นธรรม ไม่เอารัดเอาเปรียบคนงานต่างด้าว หากกิจการงานต้องทำ OT ก็ต้องจ่ายเงินให้ลูกจ้างเพิ่มตามกฎหมายแรงงาน เหล่านี้เป็นต้น

2. ผู้ประกอบการ หรือนายจ้างควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายแรงงานต่างด้าว และตระหนักถึงหน้าที่รับผิดชอบ
นอกจากกฎหมายนำเข้าแรงงานต่างด้าวแล้ว ผู้ประกอบการควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายการบริหารจัดการ รวมถึงการป้องกัน และคุ้มครองสิทธิของคนงานต่างด้าวให้ได้รับการปฏิบัติอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งการอ่านรายละเอียดในใบอนุญาตทำงานของคนงานต่างด้าวเป็นสิ่งที่ควรทำ จะมีข้อกำหนด และกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการว่าจ้างคนงานต่างด้าว ให้ผู้ประกอบการได้ตระหนัก และรับทราบถึงสิทธิประโยชน์ของคนงานต่างด้าวที่ควรพึงมี อันจะเป็นการปฏิบัติตามสัตยาบันอนุสัญญาตามมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ

3. การพัฒนาศักยภาพในการทำงานของคนงานต่างด้าว
ข้อกำหนดการพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานคนงานต่างด้าวตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ว่าด้วยการคุ้มครองคนงานต่างด้าวให้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานมากยิ่งขึ้น ผู้ประกอบการที่ต้องการแรงงานที่มีทักษะควรจัดการฝึกอบรมเกี่ยววิชาชีพ และการทำงานขั้นพื้นฐานให้กับลูกจ้าง คนงานต่างด้าวส่วนใหญ่มาจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีวิถีชีวิตใกล้เคียงกับบ้านเรา ดังนั้นจึงสามารถปรับตัว และทำความเข้าใจกับวัฒนธรรมต่าง ๆ ได้ง่าย คนงานต่างด้าวมีการเรียนรู้ทักษะเพิ่มเติมที่ไว สามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว จึงสร้างงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพียงผู้ประกอบการมีการสนับสนุนมอบความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพต่าง ๆ จะทำให้กิจการสามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่น และได้ผลผลิตที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

4. ผู้ประกอบการ หรือนายจ้างต้องนำเข้าแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกฎหมาย
กฎหมายแรงงาน พ.ร.ก.ต่างด้าวในปัจจุบันมีบทลงโทษที่สูงมาก ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันการลักลอบใช้แรงงานอย่างผิดกฎหมาย ผู้ประกอบการที่รับคนงานต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน หรือบังคับใช้คนงานต่างด้าวให้ทำงานอย่างเอารัดเอาเปรียบไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต มีโทษปรับสูงถึง 400,000 - 800,000 บาท ดังนั้นนายจ้างต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายตั้งแต่การนำเข้าแรงงานต่างด้าว และนำลูกจ้างคนงานต่างด้าวมาขึ้นทะเบียนให้ถูกต้อง แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมายทุกคนจะได้รับการคุ้มครอง เฉกเช่นเดียวกับลูกจ้างคนไทย ซึ่งเป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชน

นําเข้าแรงงานต่างด้าว MOU อย่างถูกกฎหมายผ่านบริษัทจัดหางานแรงงานต่างด้าว

ไม่ว่าจะเป็นแรงงานสัญชาติใด ต่างก็ทำงานให้เกิดผลประโยชน์ต่อกิจการด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้นการเห็นคุณค่ าและสนับสนุนคนงานต่างด้าวให้ปฏิบัติงานด้วยความขยันขันแข็ง และมีสวัสดิภาพในการทำงาน ย่อมทำให้เกิดความมั่นคงในแรงงาน ทั้งยังเป็นการปฏิบัติที่ดีให้สอดคล้องกับกฎหมายแรงงานอีกด้วย สำหรับผู้ประกอบการที่มีความจำเป็นต้องหาแรงงานต่างด้าวเข้ามาช่วยขับเคลื่อนกิจการ ในปัจจุบันต้องนำเข้าแรงงานต่างด้าวผ่านระบบ MOU เท่านั้น

ท่านใดที่มีความกังวลว่าการจัดหาแรงงานต่างด้าว หรือนําเข้าแรงงานต่างด้าว MOU มีรายละเอียด และขั้นตอนที่ยุ่งยาก ซึ่งอาจทำให้เกิดความผิดพลาดจนเสียผลประโยชน์ได้ ผู้ประกอบการสามารถมอบหมายให้บริษัทนําเข้าแรงงานต่างด้าว MOU เป็นตัวแทนในการจัดหาแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศอย่างถูกต้องตามกฎหมายได้ บริษัท เท็นไมล์เลเบอร์กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด รับจัดหางานแรงงานต่างด้าว พร้อมดูแลทุกขั้นตอนในการดำเนินเรื่องจ้างแรงงานต่างด้าวแบบครบจบทุกบริการในที่เดียว เท็นไมล์เลเบอร์ ประสบการณ์คัดเลือกแรงงานให้อุตสาหกรรมชั้นนำในประเทศไทยมากว่า 10 ปี เราสรรหาบุคลากรมาแล้วนับหมื่นชีวิตอย่างมีคุณภาพ และปลอดภัย ไว้วางใจให้เราได้ดูแลดำเนินการจัดหาแรงงานต่างด้าว การันตีส่งการจัดส่งคนงานอย่างรวดเร็วภายใน 30 วัน นอกจากนี้ เท็นไมล์เลเบอร์ ยังเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการที่สนใจ สามารถร่วมเดินทางคัดเลือกแรงงานได้ด้วยตัวเองตามความต้องการ เพื่อให้ธุรกิจกิจการของท่านมีบุคลากรที่ตรงความต้องการมากที่สุด



ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับการหาคนงานต่างด้าว

โทร. 098-270-4840, 086-528-4820
Email : 10milelabourgroup@gmail.com, 10mile.customer@gmail.com