ขั้นตอนการแจ้งรายงานตัว 90 วัน และเอกสารที่ต้องใช้ในการจัดหาคนงานต่างด้าว

แนะนำขั้นตอนการแจ้งรายงานตัว 90 วัน และเอกสารที่ต้องใช้ในการจัดหาคนงานต่างด้าว

ในปัจจุบันประเทศไทยมีการรับคนงานต่างด้าวเข้ามาทำงานมากกว่า 2 ล้าน 7 แสนคน เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานฝ่ายผลิตภายในโรงงานต่าง ๆ โดยมีประเภทการนำเข้าแรงงานมากถึง 5 ประเภท ได้แก่ คนต่างด้าวระดับฝีมือ ชำนาญการ (ม.59), คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการจ้างแรงงานระหว่างรัฐ (MOU), แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการ ลงทุน (ม.๖๒), แรงงานต่างด้าวประเภทชนกลุ่มน้อย (ม.๖๓/๑) และแรงงานต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาทำงานในลักษณะไป-กลับ หรือตามฤดูกาล (ม.๖๔) โดยในบางประเภทจะเป็นการอนุญาตให้เข้ามาทำงานเพียงชั่วคราวเท่านั้น และต้องทำการรายงานตัวต่อเจ้าพนักงานทุก 90 วันด้วย ดังนั้นในฐานะนายจ้างที่เป็นคนดูแลแรงงาน จึงต้องปฏิบัติตามกฎข้อนี้อย่างเคร่งครัด สำหรับคนที่สงสัย และยังสับสนอยู่ว่าการแจ้งรายงานตัวคนงานต่างด้าวภายใน 90 วันคืออะไร มีขั้นตอนแบบไหน ใครต้องแจ้งบ้าง แล้วต้องเตรียมเอกสารอย่างไร วันนี้ เท็นไมล์เลเบอร์ เราจะมาอธิบายให้ฟัง เพื่อช่วยให้ทุกคนสามารถดำเนินการเรื่องนี้ได้ง่ายขึ้น ตามมาอ่านกันเลย

การแจ้งรายงานตัว 90 วันคืออะไร และใครต้องแจ้งบ้าง?
สำหรับคนที่สงสัยว่าการแจ้งรายงานตัวทุก 90 คืออะไร ก็ขออธิบายแบบนี้ว่า กฎข้อนี้เป็นไปตามมาตรา 37(5) แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ที่กำหนดให้คนงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานได้เพียงชั่วคราว จะต้องรายงานตัวต่อเจ้าพนักงานของภาครัฐที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เมื่อครบกำหนด 90 วัน เพื่อแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบว่าพักอาศัยอยู่ที่ใด และมีที่อยู่เป็นหลักแหล่งหรือไม่ เพื่อสวัสดิภาพของตัวแรงงานเอง และเป็นการป้องกันการหลบหนี หรือการทำผิดกฎหมายอื่น ๆ ด้วย อย่างไรก็ตามถึงแม้กฎจะกำหนดมาว่าให้ทุกคนรายงานตัวทุก ๆ 90 วัน แต่เราก็สามารถเตรียมความพร้อม และยื่นเรื่องได้ภายใน 15 วันก่อนที่จะครบกำหนด หรือถ้ายื่นไม่ทันเวลาจริง ๆ ทางการก็อนุโลมให้ยื่นช้าสุดได้ 7 วันหลังครบกำหนด 90 วันที่ตั้งไว้แล้ว ในส่วนของวิธีการสังเกตว่าแรงงานต่างด้าวคนไหนต้องรายงานตัวตามกฎข้อนี้บ้าง ก็ให้ดูกันที่ประเภทของวีซ่าจะชัดเจนมากที่สุด เพราะฉะนั้นถ้าแรงงานของคุณมีวีซ่าแบบวีซ่าธุรกิจ (Non-B), วีซ่าทำงาน (Non-B), วีซ่าเกษียณอายุ (Non-O), วีซ่าแต่งงาน (Non-O), วีซ่าติดตาม (Non-O), และวีซ่าอาสาสมัคร (Non-O) หมายความว่าต้องดำเนินการรายงานตัวในทุก ๆ 90 วัน

หากรายงานตัวไม่ทันจะต้องรับโทษหรือไม่?
เชื่อว่าหลายคนน่าจะสงสัยในหัวข้อนี้อยู่เหมือนกันว่า แล้วถ้าสุดท้ายแล้วคนงานต่างด้าวไม่สามารถทำเรื่องรายงานตัว และแจ้งเรื่องที่พักอาศัยได้ทันจริง ๆ จะมีผลกระทบอย่างไรบ้าง คำตอบก็คือ คนงานเหล่านั้นจะถูกดำเนินการเปรียบเทียบปรับ 2,000 บาท หรือถ้ายื้อเวลาจนถูกจับกุมตัวจะเสีย 5,000 บาท แต่ถ้าในกรณีที่คนงานต่างด้าวเดินทางออกนอกประเทศก่อนครบกำหนดรายงานตัว 90 วัน เมื่อเดินทางกลับมาอีกครั้งก็ไม่จำเป็นต้องเสียค่าปรับใด ๆ เพราะทางการจะเริ่มนับรอบใหม่ ให้ทำการดำเนินการรายงานตัวอีกครั้งเมื่อครบ 90 วัน นับจากวันที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรครั้งล่าสุด

สามารถรายงานตัวอย่างไรได้บ้าง และต้องเตรียมเอกสารอย่างไร?
ในปัจจุบันคนงานต่างด้าวสามารถรายงานตัวได้ทั้งหมด 4 ช่องทาง และต้องเตรียมเอกสารดังนี้

1.คนงานต่างด้าวไปรายงานตัวด้วยตัวเองที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองในเขตพื้นที่ที่คนงานต่างด้าวพักอาศัย
เอกสารที่ต้องใช้มีดังนี้
- หนังสือเดินทาง (Passport)
- บัตร ตม.6 ขาออก (TM.6)
- ใบรับแจ้งการอยู่เกิน 90 วัน (กรณีที่มีการแจ้งอยู่เกิน 90 วันมาแล้ว)
-กรอกรายละเอียดใน แบบฟอร์ม ตม. 47 พร้อมลงลายมือชื่อให้เรียบร้อย

2.คนงานต่างด้าวมอบอำนาจให้ผู้อื่น (นายจ้าง) นำหนังสือไปแจ้งแทน
เอกสารที่ต้องใช้มีดังนี้
- หนังสือเดินทาง (Passport)
- บัตร ตม.6 ขาออก (TM.6)
- ใบรับแจ้งการอยู่เกิน 90 วัน (กรณีที่มีการแจ้งอยู่เกิน 90 วันมาแล้ว)
- กรอกรายละเอียดใน แบบฟอร์ม ตม. 47 พร้อมลงลายมือชื่อให้เรียบร้อย
- หนังสือมอบอำนาจ พร้อมลงลายมือชื่อให้เรียบร้อย

3.คนงานต่างด้าวส่งเอกสารรายงานตัวผ่านไปรษณีย์
เอกสารที่ต้องใช้มีดังนี้
- สำเนาหนังสือเดินทางหน้ารูปถ่าย, วันเดินทางเข้าประเทศครั้งสุดท้าย และการอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยครั้งล่าสุด
- สำเนาบัตร ตม.6 ขาออก หน้า-หลัง (TM.6)
- ใบรับแจ้งการอยู่เกิน 90 วัน (กรณีที่มีการแจ้งอยู่เกิน90 วันมาแล้ว)
- กรอกรายละเอียดในแบบฟอร์ม ตม. 47 พร้อมลงลายมือชื่อให้เรียบร้อย
- ซองจดหมายพร้อมติดแสตมป์ 10 บาท จ่าหน้าซองถึงคนต่างด้าว เพื่อพนักงานเจ้าหน้าที่จะได้จัดส่งใบนัดส่วนล่างของแบบ ตม.47 เมื่อรับแจ้งอยู่เกิน 90 วัน แล้วพร้อมแบบ ตม.47 เพื่อใช้แจ้งอยู่เกิน 90 วันในครั้งต่อไป
- นำเอกสารตามข้อ 1-5 ใส่ซอง และจัดส่งโดยไปรษณีย์ลงทะเบียน ก่อนวันครบกำหนดการแจ้ง (ตามใบนัด) 15 วัน ทั้งนี้คนต่างด้าวจะต้องเก็บหลักฐานการลงทะเบียนไว้ โดยจ่าหน้าซองมาที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง ตามเขตพื้นที่ที่คนต่างด้าวพักอาศัย

4.คนงานต่างด้าวเลือกรายงานตัวผ่านเว็บไซต์ทางการของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
สำหรับวิธีการนี้ให้คนงานต่างด้าว หรือนายจ้างทุกคนเข้าไปที่ สำหรับวิธีการนี้ให้ทุกคนเข้าไปที่เว็บไซต์ https://www.immigration.go.th/ จากนั้นให้คลิกไปที่หัวข้อ ‘บริการออนไลน์’ แล้วกดเลือกไปที่หัวข้อ ‘การรับแจ้งอยู่เกิน 90 วัน (ตม.47)’ จากนั้นทางเว็บไซต์จะแจ้งวิธีการสมัค รและวิธีการกรอกข้อมูลพร้อมเงื่อนไขอย่างละเอียดให้ทุกคนได้ทราบอีกที

เป็นอย่างไรกันบ้างกับข้อมูลการแจ้งรายงานตัว 90 วันของคนงานต่างด้าว ที่ เท็นไมล์เลเบอร์ นำมาฝากกันในวันนี้ สำหรับท่านใดที่มีความกังวลว่าการจัดหาแรงงานต่างด้าว หรือนําเข้าแรงงานต่างด้าว MOU มีรายละเอียด และขั้นตอนที่ยุ่งยาก ซึ่งอาจทำให้เกิดความผิดพลาดจนเสียผลประโยชน์ได้ ที่ บริษัท เท็นไมล์เลเบอร์กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทนําเข้าแรงงานต่างด้าว MOU ตัวแทนในการจัดหาแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศอย่างถูกต้องตามกฎหมาย รับจัดหางานแรงงานต่างด้าว พร้อมดูแลทุกขั้นตอนในการดำเนินเรื่องจ้างแรงงานต่างด้าวแบบครบจบทุกบริการในที่เดียว การันตีส่งการจัดส่งคนงานอย่างรวดเร็วภายใน 30 วัน



ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับการหาคนงานต่างด้าว

โทร. 098-270-4840, 086-528-4820
Email : 10milelabourgroup@gmail.com, 10mile.customer@gmail.com