คนงานต่างด้าว

ควรทำอย่างไรเมื่อคนงานต่างด้าวออกจากงาน

กระบวนการจัดการ เมื่อคนงานต่างด้าวตัดสินใจออกจากงาน

สิ่งหนึ่งที่นายจ้างทุกคนต้องพึงระลึกไว้เสมอหลังจากตัดสินใจว่าจ้างคนงานต่างด้าว คือทุกอย่างต้องมีเอกสาร และทุกกระบวนการที่เกิดขึ้นกับชีวิต และสภาพการเป็นอยู่ของพวกเขาจำเป็นต้องแจ้งให้กับทางการรับทราบไว้เสมอ เพราะฉะนั้นเมื่อมีกระบวนการในการจัดหาแรงงานต่างด้าวให้เข้ามาทำงานอย่างละเอียด และมากมายขนาดไหน กระบวนการจัดการเมื่อคนงานต่างด้าวตัดสินใจออกจากงานก็ต้องดำเนินการกับทางการด้วยเช่นกัน และเพื่อเป็นแนวทางให้กับนายจ้างทุกคนได้รับทราบเกี่ยวกับวิธีการจัดการดูแลเมื่อคนงานต่างด้าวตัดสินใจลาออกจากงาน บทความนี้บริษัทนําเข้าแรงงานต่างด้าว MOU บริษัท เท็นไมล์เลเบอร์กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด เลยจะมาแนะนำให้ทุกคนได้รู้จัก 2 ขั้นตอนที่ต้องทำเมื่อคนงานต่างด้าวออกจากงาน มาทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันเลย

รู้จักสองขั้นตอนที่ต้องทำเมื่อคนงานต่างด้าวออกจากงาน

1.ตรวจสอบเรื่องสิทธิ์การลาออกของคนงานต่างด้าว
เมื่อคนงานต่างด้าวภายใต้การดูแลของบริษัท หรือโรงงานของเราตัดสินใจลาออก สิ่งที่นายจ้างทุกคนต้องทำเป็นอันดับแรกคือการตรวจสอบสิทธิ์ในการลาออกของลูกจ้างคนไหนเสียก่อนว่ามีอะไรบ้าง สำหรับสิทธิในการลาออกที่ว่านี้จะขึ้นตรงกับวิธีการลาออกของคนงานต่างด้าวคนนั้น โดยเราจะแบ่งออกเป็นสองกรณี ได้แก่ การลาออกแบบไม่มีสิทธิ์เปลี่ยนนายจ้าง และการลาออกแบบมีสิทธิ์เปลี่ยนนายจ้าง ซึ่งแต่ละกรณีก็จะมีรายละเอียดในการพิจารณาแตกต่างกันดังนี้

1.1กรณีที่คนงานต่างด้าวสามารถลาออกได้ แต่ไม่มีสิทธิ์เปลี่ยนนายจ้าง
การลาออกของแรงงานต่างด้าวนั้นจะต่างกับคนไทยอยู่มากทีเดียว เพราะสำหรับคนงานต่างด้าวแล้ว บางครั้งการลาออกอย่างไม่ถูกต้องก็ส่งผลให้ไม่สามารถเปลี่ยนนายจ้างใหม่ได้ และสามารถกระทบกระเทือนไปถึงสิทธิ์ในการอยู่อาศัยในประเทศไทยด้วย ซึ่งกรณีนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อคนงานต่างด้าวคนนั้นกระทำการออกจากงานโดยพลการ หรือทิ้งหน้าที่ และงานของตัวเองไปโดยไม่บอกกล่าวนายจ้าง และไม่ยอมกลับมาทำงานตามสัญญาที่ระบุไว้จนส่งผลกระทบต่อธุรกิจ หากนายจ้างคำนวณแล้วพบว่าค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการนำเข้าแรงงานต่างด้าว ไม่คุ้มค่ากับสิ่งที่คนงานคนนี้ทำงานกลับคืนมา คนงานต่างด้าวคนนั้นก็จะถูกเลิกจ้าง และไม่สามารถเปลี่ยนนายจ้างใหม่ได้ด้วย รวมถึงสิทธิในการอยู่อาศัยในประเทศไทยก็จะสิ้นสุดลงนับตั้งแต่วันที่ถูกเลิกจ้างทันทีเช่นกัน

1.2กรณีที่คนงานต่างด้าวสามารถลาออกได้ และสามารถเปลี่ยนนายจ้างได้
ถ้าคนงานต่างด้าวเข้าทำงานแล้วไม่สามารถลาออก หรือเปลี่ยนนายจ้างได้ ก็คงจะไม่ยุติธรรมอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นหากไม่ใช่การหนีงานไปโดยพลการ โดยส่วนใหญ่แล้วก็สามารถลาออก เลิกจ้าง หรือเปลี่ยนนายจ้างกันได้ แต่ถึงอย่างนั้นก็ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ได้แก่

  • นายจ้างเลิกจ้าง หรือเสียชีวิต
  • นายจ้างทำทารุณกรรมหรือทำร้ายลูกจ้าง
  • นายจ้างไม่จ่ายเงินค่าแรงตามสัญญา
  • นายจ้างไม่ปฏิบัติตามสัญญา หรือกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
  • นายจ้างล้มละลาย หรือลดกำลังการผลิต
  • สภาพแวดล้อมในการทำงานเป็นอันตรายต่อร่างกาย จิตใจ สุขภาพอนามัย และชีวิต จนไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติสุข

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าคนงานต่างด้าวจะมั่นใจว่าสถานการณ์ของตัวเองตรงกับเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งที่กล่าวมานี้ แต่ในกรณีที่มีการกล่าวอ้างว่านายจ้างกระทำผิดต่อตน เช่น การทำทารุณกรรม การไม่จ่ายค่าแรง การไม่ปฏิบัติตามสัญญา หรือกฎหมายคุ้มครองแรงงาน หรือการที่สภาพแวดล้อมในการทำงานไม่เอื้ออำนวยต่อการมีชีวิตที่ปกติ คนงานต่างด้าวจะต้องหาหลักฐานมาพิสูจน์เพื่อแจ้งต่อนายทะเบียนให้ได้ และคนงานต่างด้าวต้องเป็นผู้ดำเนินการหานายจ้างคนใหม่เองด้วย ซึ่งต้องหาให้ได้ภายใน 30 วัน และทำงานต่อไปได้ตามระยะเวลาที่เหลืออยู่

2.ดำเนินการแจ้งเรื่องลาออกของคนงานต่างด้าว
หลังจากที่นายจ้างตรวจสอบสิทธิ์ในการลาออกของคนงานต่างด้าวคนนั้นเรียบร้อยแล้ว ทั้งกรณีที่ลาออกได้ แต่ไม่มีสิทธิ์เปลี่ยนนายจ้าง กรณีที่ลาออกได้ และสามารถเปลี่ยนนายจ้างได้ ไม่ว่าจะเป็นกรณีไหน ขั้นตอนต่อมาที่ต้องทำก็คือการไปยังสำนักงานจัดหางานจังหวัด หรือที่สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 ในเขตพื้นที่ที่เป็นสถานที่ตั้งของสถานประกอบการที่คนต่างด้าวทำงานอยู่ เพื่อดำเนินการแจ้งเรื่องลาออก พร้อมระบุสาเหตุอย่างครบถ้วนภายในเวลา 15 วัน มิเช่นนั้นจะต้องถูกปรับเป็นเงินจำนวน 20,000 บาท โดยต้องเตรียมเอกสารดังนี้

  • ใบแจ้งยกเลิกการอนุญาตทำงาน โดยนายจ้างเป็นผู้ลงนาม พร้อมสำเนา 2 ฉบับ
  • ใบอนุญาตทำงานฉบับจริง (ยกเว้นกรณีคนงานต่างด้าวไม่สามารถติดต่อได้ ให้แนบสำเนาใบอนุญาตทำงาน ถ้ามี)
  • สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนสถานประกอบการ เช่น หนังสือรับรองนิติบุคคลบริษัท (ถ้าไม่เกิน 6 เดือน) ใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียน หนังสือรับรองนิติบุคคลของมูลนิธิ เป็นต้น
  • สำเนาบัตรประชาชนนายจ้าง ถ้านายจ้างเป็นคนไทย หรือสำเนาใบอนุญาตทำงานของนายจ้าง ถ้านายจ้างเป็นคนงานต่างด้าว
    หนังสือมอบอำนาจจากนายจ้าง พร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท และสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ ถ้าไม่ได้มาดำเนินการด้วยตนเอง

ทั้งหมดนี้คือสองขั้นตอนหลัก ๆ ที่นายจ้างทุกคนต้องทำทันทีเมื่อคนงานต่างด้าวภายใต้การดูแลของเราตัดสินใจลาออกจากงาน เพื่อดำเนินการอย่างถูกต้อง และไม่ต้องเสียค่าปรับ สำหรับนายจ้างท่านใดที่เลิกจ้างคนงานต่างด้าว คนงานต่างด้าวลาออก หรือคนงานต่างด้าวหมดสัญญา และไม่ตัดสินใจต่อ และกำลังมองหาแรงงานต่างด้าวใหม่ ผ่านวิธีการจัดหาแรงงานต่างด้าวที่รวดเร็ว ไม่ยุ่งยาก ให้ บริษัท เท็นไมล์เลเบอร์กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทนําเข้าแรงงานต่างด้าว MOU เป็นผู้ช่วยของคุณ บริการจัดหาแรงงานต่างด้าว หาคนงานต่างด้าวในระบบ MOU พร้อมบริการจัดทำเอกสาร ประกอบด้วยคำร้องการนำเข้าแรงงานต่างด้าว การยื่นขอใบอนุญาตทำงานของคนงานต่างด้าว การขอรับบัตรทำงานแทนผู้ประกอบการในทุกกรณี รวมถึงยังช่วยแก้ไขปัญหาระหว่างการจ้างงาน เช่น เรื่องของการต่ออายุเอกสารคนงานต่างด้าวตลอดอายุสัญญาจ้าง 2 ปี เรามีประสบการณ์ในการจัดส่งคนงานต่างด้าวกว่า 10 ปี ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015 เรายังมีระบบแจ้งเตือนเอกสารครบวาระ เพื่อให้นายจ้าง หรือองค์กรสะดวกที่สุดได้ ในราคาประหยัด



ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับการหาคนงานต่างด้าว

โทร. 098-270-4840, 086-528-4820
Email : 10milelabourgroup@gmail.com, 10mile.customer@gmail.com