วิธีการสร้างความเข้าใจ และการสื่อสารกับคนงานต่างด้าวที่มีวัฒนธรรม และภาษาที่แตกต่าง

5 เทคนิคสื่อสารกับคนงานต่างด้าว ที่มีวัฒนธรรม และภาษาที่แตกต่าง ให้เกิดความเข้าใจในการทำงานแบบแจ่มแจ้ง และชัดเจน

หลาย ๆ ธุรกิจที่มีการนำเข้าแรงงานต่างด้าวมาทำงาน อาจพบเจอกับอุปสรรคด้านภาษา ในการสื่อสารบางเรื่องแม้จะฟังดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่หากมีการสื่อสารผิดพลาดก็อาจส่งผลกระทบกับธุรกิจได้ ยกตัวอย่างเช่น เครื่องจักรพังชำรุดเสียหาย จากการใช้งานผิดวัตถุประสงค์ของลูกจ้างที่ไม่เข้าใจการทำงาน ทำให้เกิดความผิดพลาดในกระบวนการผลิต ไม่สามารถส่งสินค้าให้กับลูกค้าตามกำหนดได้ ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลกระทบต่อตัวธุรกิจ และภาพลักษณ์ของบริษัท

วันนี้เรามีเทคนิคการลดกำแพงทางด้านภาษา และความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรม ระหว่างนายจ้างคนไทยและลูกจ้างคนงานต่างด้าว ด้วยการปรับปรุงเทคนิคการติดต่อสื่อสาร ด้วยหลากหลายวิธีการดังต่อไปนี้

5 เทคนิคการสื่อสารกับคนงานต่างด้าว ให้เกิดความเข้าใจในการทำงานแบบแจ่มแจ้ง และชัดเจน

1. จัดทำคู่มือระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ของการทำงาน
หนังสือคู่มือข้อระเบียบการทำงานอาจเป็นสิ่งที่นายจ้างต้องลงทุนจัดพิมพ์ แต่คู่มือนี้นอกจากจะช่วยให้คนงานต่างด้าวเข้าใจกฎระเบียบต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังสามารถคุ้มครองนายจ้างในทางกฎหมายได้อีกด้วย การจัดทำคู่มือระเบียบข้อบังคับของบริษัทสามารถแปลเป็นหลาย ๆ ภาษาในครั้งเดียว ไม่ว่าจะเป็นภาษาไทย, ภาษาลาว, ภาษาพม่า หรือภาษาเขมร ในอนาคตแม้จะมีการเพิ่มพนักงานคนงานต่างด้าวเข้ามาใหม่ ก็สามารถใช้คู่มือเดียวกันนี้ได้เลย โดยไม่ต้องจัดหาจ้างล่ามมาช่วยแปลในทุก ๆ ครั้งที่มีคนงานต่าวด้าวเข้าบรรจุเป็นพนักงาน

2. สื่อสารอย่างชัดเจนด้วยภาพ หรือภาพเคลื่อนไหว
ทุกครั้งที่มีการจัดหาแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในกิจการ ควรจะมีการจัดอบรมแรงงาน เพื่อชี้แจงถึงกฎระเบียบของบริษัท นโยบายด้านต่าง ๆ รวมถึงเจาะลึกขั้นตอนการทำงานของคนงานต่างด้าวในแต่ละแผนกที่มีความแตกต่างกัน บริษัทสามารถใช้การบรรยายผ่านรูปภาพ ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้คนงานต่างด้าวเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของขั้นตอนการทำงาน หากสามารถแสดงเป็นภาพเคลื่อนไหว หรือวิดีโอได้ จะยิ่งทำให้พวกเขาเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น หรือในหลาย ๆ กิจการที่มีลักษณะการทำงานแบบเฉพาะทาง หรือเป็นงานที่ต้องใช้ทักษะ มักให้หัวหน้างานสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่าง จนกว่าคนงานต่างด้าวจะเข้าใจ

3. ให้แรงงานต่างด้าวที่เคยมีประสบการณ์มาเป็นล่ามในเบื้องต้น
คนงานต่างด้าวที่มีประสบการณ์เคยทำงานในไทยมาก่อน จะมีความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมต่าง ๆ ของไทยในเบื้องต้น และบางคนก็อยู่มานานจนสามารถสื่อสารภาษาไทยได้ดี หากกิจการของคุณมีคนงานต่างด้าวที่เคยมีประสบการณ์ทำงานในไทย ขอให้พนักงานมาเป็นล่ามให้กับบริษัทเบื้องต้น ในการอธิบายระเบียบข้อบังคับที่สำคัญ ๆ ในกิจการ เพื่อให้แน่ใจว่าคนงานต่างด้าวทุกคนจะเข้าใจอย่างตรงกัน ลดความผิดพลาดในการทำงาน โดยเฉพาะในงานที่ต้องมีการทำงานอย่างละเอียดอ่อน สามารถเน้นย้ำกับคนงานต่างด้าวทุกคนได้ว่าหากไม่แน่ใจขอให้สอบถามนายจ้างก่อนทำ จะเป็นการดีที่สุด

4. ให้เกียรติคนงานต่างด้าวอย่างเท่าเทียม
นายจ้างที่กำลังต้องการหาคนงานต่างด้าว หรือนำเข้าแรงงานต่างด้าวมาช่วยในกิจการ อาจต้องรู้เบื้องต้นเสียก่อนว่า กลุ่มแรงงานจากเพื่อนบ้านไม่ชอบให้เรียกพวกเขาว่า 'คนงานต่างด้าว' แทนที่จะใช้คำแยกแยะกลุ่มคนในที่ทำงาน นายจ้างควรหันมาเรียกทุกคนว่า 'พนักงาน' เหมือน ๆ กันจะดีที่สุด เมื่อนายจ้างมีการสื่อสารอย่างให้เกียรติ จะช่วยลดความขุ่นข้องหมองใจของคนงานต่างด้าวลงได้ ทั้งนี้การใช้คำพูดกดขี่และใช้อารมณ์ อาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนงานต่างด้าวมีความหวาดกลัว เมื่อเกิดปัญหาขึ้นจะไม่กล้าพูดความจริง ไม่กล้ารายงาน และไม่กล้าถาม ซึ่งอาจตามมาด้วยปัญหาระหว่างการทำงานหลายประการ ดังนั้นการสื่อสารกับคนงานต่างด้าว นายจ้างมีความจำเป็นที่ต้องใช้เหตุผลเป็นที่ตั้ง ชื่นชมเมื่อพวกเขาทำงานได้ดี และให้กำลังใจหากเกิดความผิดพลาดขึ้น

5. ค่อย ๆ ฟังอย่างตั้งใจ และให้เวลากับการทำความเข้าใจ
แม้จะเป็นคนงานต่างด้าวที่ทำงานในไทยมานาน บางครั้งการสื่อสารก็ยังคงไม่ชัดเจนมาก เมื่อใดก็ตามที่ต้องติดต่อสื่อสาร นายจ้างควรตั้งใจฟัง สื่อสารออกไปด้วยการพูดช้า ๆ และชัด ๆ หากไม่แน่ใจให้ถามจนกว่าจะเข้าใจตรงกัน สามารถใช้มือประกอบการอธิบายได้ หากเป็นงานที่มีรายละเอียดซับซ้อน อาจใช้วิธีวาดภาพลงบนกระดาษ พร้อมอธิบายอย่างช้า ๆ หรือเปิดคลิปวิดีโอให้คนงานต่างด้าวดู เพื่อให้ชัวร์ว่าสิ่งที่นายจ้างกำลังพูดถึงคือเรื่องอะไร อย่างไรก็ตามนายจ้างไม่ควรละเลย หรือให้อนุญาตส่ง ๆ ขณะที่ตัวเองยังไม่ได้เข้าใจดีนัก เพราะบางเรื่องที่เราเห็นว่าไม่สำคัญ หากเกิดปัญหาขึ้นแล้วอาจสร้างความเสียหายได้มาก

นายจ้าง หรือผู้ประกอบการที่ต้องวุ่นวายกับธุรกิจทุกวัน คงปวดหัวกับงานเอกสารกองโตของพนักงานคนงานต่างด้าวที่วนเวียนมาในแต่ละเดือนอย่างไม่รู้จักจบสิ้น เพื่อให้คุณสามารถโฟกัสกับธุรกิจหลักได้อย่างเต็มที่ บริษัท เท็นไมล์เลเบอร์กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด บริการดูแลบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวแบบทั้งระบบ (Semi-Sub Contractor) เราช่วยดูแลงานเอกสารเกี่ยวกับคนงานต่างด้าวอย่างครอบคลุม หมดปัญหางานเอกสารที่ทำให้นายจ้างต้องกังวลใจ เท็นไมล์เลเบอร์ ดูแลการทดแทนแรงงานตลอดอายุสัญญาจ้าง รวมถึงการต่อเอกสารแรงงานต่างด้าว, รายงานตัว 90 วัน, แจ้งเข้า-ออกจากบริษัท เราจัดการให้คุณอย่างครบถ้วนทั้งระบบ เตรียมเอกสารพร้อมยื่นให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

สำหรับผู้ประกอบการใดที่ต้องการหาแรงงานต่างด้าวเพิ่ม บริษัท เท็นไมล์เลเบอร์กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทนําเข้าแรงงานต่างด้าว MOU จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจ รับจัดหาแรงงานต่างด้าว หาคนงานพม่า นำเข้าแรงงานต่างด้าวสัญชาติที่คุณต้องการ ผู้ประกอบการสามารถระบุความต้องการได้ การันตีความไว้วางใจ และความเชื่อมั่นจากบริษัทชั้นนำหลายแห่งตลอดระยะเวลานานกว่า 10 ปี



ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับการหาคนงานต่างด้าว

โทร. 098-270-4840, 086-528-4820
Email : 10milelabourgroup@gmail.com, 10mile.customer@gmail.com