เทคนิคการใช้เทคโนโลยีในการค้นหาคนงานต่างด้าว

เทคนิคการใช้เทคโนโลยีในการค้นหาคนงานต่างด้าว และสร้างช่องทางการสื่อสารกับคนงานต่างด้าวอย่างถูกกฎหมาย

     เคยสงสัยกันหรือไม่ว่า พวกร้านค้า และธุรกิจต่าง ๆ ที่เขาสามารถว่าจ้างคนงานต่างด้าวจากพม่า ลาว และกัมพูชาให้มาช่วยทำงานได้ พวกเขาไปหาแรงงานต่างด้าวเหล่านั้นมาได้อย่างไร และใช้วิธีการไหนในการติดต่อสื่อสารกับคนเหล่านั้นบ้าง สำหรับใครที่กำลังสงสัยเรื่องนี้อยู่ และกำลังมองหาไอเดียดี ๆ ในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อค้นหา และสร้างช่องทางสื่อสารกับคนงานต่างด้าวอย่างรวดเร็ว บทความนี้ บริษัท เท็นไมล์เลเบอร์กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทนําเข้าแรงงานต่างด้าว MOU จะขอรับหน้าที่เป็นคู่มือฉบับพกพา ในการพาทุกคนไปทำความรู้จักกับการนำเข้าแรงงานต่างด้าวให้มากขึ้น พร้อมกับแนะนำให้ทุกคนรู้จักกับเทคนิคดี ๆ ที่เหมาะกับการใช้หาคนงานต่างด้าวอย่างถูกกฎหมายอีกด้วย

ทำความรู้จักกับประเภทของคนงานต่างด้าวที่สามารถทำงานได้อย่างถูกกฎหมายในประเทศไทย
     ก่อนที่เราจะไปหาคำตอบกันว่ามีวิธีการไหนที่สามารถใช้ในการหาแรงงานต่างด้าว ทั้งจากพม่า ลาว กัมพูชา เราก็อยากจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับประเภทของแรงงานต่างด้าวก่อนว่ามีประเภทไหนบ้างที่สามารถว่าจ้างได้ โดยเราขอสรุปออกมาเป็น 5 ประเภทดังนี้

  1. คนต่างด้าวระดับฝีมือ ชำนาญการ (ม.59)
  2. คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการจ้างแรงงานระหว่างรัฐ (MOU)
  3. แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการ ลงทุน (ม.๖๒)
  4. แรงงานต่างด้าวประเภทชนกลุ่มน้อย (ม.๖๓/๑)
  5. แรงงานต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาทำงานในลักษณะไป-กลับ หรือตามฤดูกาล (ม.๖๔)

     ซึ่งประเภทของคนงานต่างด้าวที่เราขอแนะนำให้ทำการว่าจ้างสำหรับใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม งานทำความสะอาด และงานขนสินค้า ฯลฯ คือประเภทที่ 2 หรือ คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการจ้างแรงงานระหว่างรัฐ (MOU) เพราะมีการทำสัญญาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และสามารถอยู่ได้ยาว ๆ อย่างไร้กังวลนานถึง 2 ปี หรือในอีกกรณีหนึ่งคือแรงงานต่างด้าวที่มีบัตรสีชมพูก็สามารถว่าจ้างได้เช่นกัน แต่เนื่องจากคนเหล่านี้เป็นแรงงานต่างด้าวที่ได้รับการผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในประเทศไทย จึงไม่มีบัตร และพาสปอร์ต และมีเพียงประกันสุขภาพ จึงต้องสังเกตวันหมดอายุของบัตรให้ดี เพราะพวกเขาจะอยู่ในไทยได้เพียง 2 ปี นับตั้งแต่วันออกบัตร ก่อนจะถูกส่งกลับบ้านเกิด

แนะนำเทคนิคที่เหมาะกับการใช้หาคนงานต่างด้าวในยุคใหม่อย่างถูกกฎหมาย
     หลังจากที่เราได้แนะนำให้ทุกคนทราบไปข้างต้นว่า วิธีการที่ง่าย และดีที่สุดในการนำเข้าแรงงานต่างด้าวแบบถูกกฎหมาย และไร้กังวล ก็คือการทำ MOU หรือการว่าจ้างแรงงานต่างด้าวที่มีบัตรสีชมพู แน่นอนว่าทุกท่านสามารถยื่นเรื่องไปทางหน่วยงานของภาครัฐอย่าง สจจ./สจก. 1-10 เพื่อดำเนินการนำเข้าแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจ้างแรงงานระหว่างรัฐ (MOU) ด้วยตัวเองได้ แต่เนื่องจากในหัวข้อนี้เราอยากจะแนะนำเทคนิคง่าย ๆ ที่เหมาะกับการใช้หาแรงงานต่างด้าวในยุคใหม่อย่างถูกกฎหมาย ที่จะช่วยให้ทุกคนเข้าถึงแรงงานต่างด้าว และสื่อสารกับพวกเขาได้รวดเร็วขึ้น เราเลยอยากจะแนะนำวิธีการที่สะดวกมากกว่า โดยขอแบ่งออกเป็น 2 วิธี ดังนี้

  1. จัดหาแรงงานต่างด้าว ผ่านบริษัทนําเข้าแรงงานต่างด้าว MOU
    วิธีการที่ง่าย ดี และประหยัดเวลามากที่สุด ในการหาแรงงานต่างด้าวแบบ MOU ก็คือการใช้บริการจัดส่งคนงานจากบริษัทนําเข้าแรงงานต่างด้าว MOU เพราะบริษัทนำเข้าแรงงานเหล่านี้ต่างมีทีมงานมืออาชีพ ที่เข้าใจวิธีการติดต่อหาคนงานต่างด้าวอย่างถ่องแท้ เราจึงสามารถฝากความไว้วางใจกับบริษัทนำเข้าแรงงานเหล่านี้ได้ และที่สำคัญก็คือเรายังสามารถระบุคุณสมบัติ เพศ จำนวนแรงงาน และทักษะที่เราต้องการจากลูกจ้างแต่ละคนได้อีกด้วย ไม่ต้องกังวลว่าจะสุ่มเจอคนที่ไม่มีคุณภาพหรือเปล่า เมื่อถึงเวลาตามสัญญาเราก็จะได้รับการจัดส่งคนงานตามที่เราหมายมั่นเอาไว้ โดยไม่ต้องกังวลถึงเรื่องของประกันสุขภาพ เรื่องเอกสารต่าง ๆ หรือเรื่องวันเวลาที่ต้องพาแรงงานเหล่านี้ไปรายงานตัวกับทางการอย่างสม่ำเสมอ เพราะบริษัทจัดหางานแรงงานต่างด้าวจะเป็นผู้ดำเนินการให้เราทั้งหมดอย่างไร้กังวล

  2. หาคนงานต่างด้าวผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียต่าง ๆ
    ขึ้นชื่อว่าการหาแรงงานต่างด้าวในยุคใหม่ จะขาดการหาผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียได้อย่างไร แน่นอนว่าวิธีการนี้เรามักจะพบกับแรงงานต่างด้าวที่มีบัตรสีชมพูมากที่สุด เพราะแรงงาน MOU ส่วนใหญ่ มักจะอยู่กับนายจ้างคนเดิมจนหมดสัญญา ไม่ค่อยเปลี่ยนมือมาถึงนายจ้างใหม่ เนื่องจากต้องเดินเรื่องทำเอกสารหลายอย่าง ซึ่งเราก็สามารถเจอกับคนงานต่างด้าวที่มีบัตรสีชมพูได้ผ่านทางกลุ่ม Facebook อันเป็นแหล่งหางานให้กับคนกลุ่มนี้โดยเฉพาะ เราสามารถเข้าไปประกาศหาแรงงานต่างด้าวด้วยตัวเองในกลุ่ม ติดตามบทสนทนา ความต้องการของคนในกลุ่ม แล้วสื่อสารแนวคิดขององค์กรเราเพื่อเรียกคนให้อยากมาทำงานกับเราได้ด้วยเช่นกัน

     ทั้งหมดนี้คือข้อมูล และเทคนิคที่เหมาะกับการใช้หาแรงงานต่างด้าวในยุคใหม่อย่างถูกกฎหมาย ที่เราอยากแนะนำให้ทุกคนได้รู้จัก เชื่อว่าหลังจากอ่านมาถึงตรงนี้ ทุกคนน่าจะเข้าใจกันมากขึ้นแล้วว่าคนงานต่างด้าวประเภทไหนที่ควรว่าจ้าง และควรเลือกใช้บริการช่องทางไหนถึงจะหาแรงงานต่างด้าวได้ง่าย สะดวกสบาย และทันใช้งานมากที่สุด สำหรับท่านใด หรือธุรกิจใดที่มีความกังวลว่าการจัดหาแรงงานต่างด้าว หรือนําเข้าแรงงานต่างด้าว MOU มีรายละเอียด และขั้นตอนที่ยุ่งยาก ซึ่งอาจทำให้เกิดความผิดพลาดจนเสียผลประโยชน์ได้

     ที่ บริษัท เท็นไมล์เลเบอร์กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทนําเข้าแรงงานต่างด้าว MOU ตัวแทนในการจัดหาแรงงานต่างด้าว หาคนงานพม่า ลาว และพัมพูชาเข้ามาทำงานในประเทศอย่างถูกต้องตามกฎหมาย รับจัดหางานแรงงานต่างด้าว พร้อมดูแลทุกขั้นตอนในการดำเนินเรื่องจ้างแรงงานต่างด้าวแบบครบจบทุกบริการในที่เดียว การันตีส่งการจัดส่งคนงานอย่างรวดเร็วภายใน 30 วัน



ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับการหาคนงานต่างด้าว

โทร. 098-270-4840, 086-528-4820
Email : 10milelabourgroup@gmail.com, 10mile.customer@gmail.com