แนวทางการสร้าง MOU ในการนำเข้าแรงงาน

8 ขั้นตอนการนำเข้าแรงงานต่างด้าวผ่านการทำ MOU ที่ไม่ยากอย่างที่คิด

นำเข้าแรงงานต่างด้าว

 

สำหรับใครที่กำลังค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการนำเข้าแรงงานต่างด้าว เชื่อว่าจะต้องเคยได้ยินคีย์เวิร์ดสำคัญอย่างคำว่า ‘MOU’ อยู่บ่อย ๆ ซึ่งคำคำนี้มีที่มาจากคำว่า ‘Memorandum of Understanding’ มาจากศัพท์ภาษาอังกฤษที่หมายถึง ‘บันทึกความเข้าใจ’ อันเป็นเอกสารที่จัดทำขึ้นโดยหน่วยงาน องค์กร หรือบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป เพื่อแสดงเจตนารมณ์ และความตั้งใจในการดำเนินการร่วมกันในด้านต่าง ๆ ภายในเอกสารนั้นจะกำหนดรายละเอียดเบื้องต้น เช่น วัตถุประสงค์ บทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่าย ขอบเขตการดำเนินการ หลักการทั่วไป และกรอบเวลาของความร่วมมือนั้น ๆ และมักถูกนำมาใช้ในการขอความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบันการศึกษา หรือขอความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน ระหว่างองค์กรธุรกิจ รวมไปถึงการนำเข้าแรงงานต่างด้าวด้วย อย่างไรก็ตามโดยทั่วไปแล้ว MOU ไม่ใช่สัญญาผูกพันทางกฎหมาย แต่ก็สามารถเชื่อมั่นและไว้ใจได้ว่าแต่ละฝ่ายจะไม่ผิดสัญญา

ด้วยเหตุนี้การนำเข้าแรงงานต่างด้าวจึงมีการใช้ MOU เข้ามาเป็นส่วนประกอบ เพื่อช่วยให้ทุกคนมองเห็นภาพรวมของการนำเข้าแรงงานต่างด้าว mou ว่าต้องทำอย่างไรบ้าง ในบทความนี้จะมาแนะนำ 8 ขั้นตอนในการดำเนินการนําเข้าแรงงานต่างด้าว MOU ที่สามารถทำตามได้

(หมายเหตุ: 8 ขั้นตอนนี้อ้างอิงการนำเข้าแรงงานต่างด้าว mou จากฉบับปี 2565 ที่ภาครัฐเผยแพร่ออกมาในช่วงการระบาดโควิด-19 โดยงดเว้นการกักตัวแล้ว)

8 ขั้นตอนการนำเข้าแรงงานต่างด้าวเข้ามาในประเทศไทยผ่านการทำ MOU ระหว่างประเทศ

1.การยื่นคำร้องขอนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงาน
การยื่นคำร้องขอนำเข้าแรงงานต่างด้าวมาทำงานในประเทศ สามารถยื่นได้ ณ กรมการจัดหางาน หรือสถานประกอบการตั้งอยู่ โดยมีเอกสาร และหลักฐานทั้งหมดสี่แบบ ได้แก่ นจ.2, หนังสือแต่งตั้ง, สัญญาจ้างงาน และเอกสารนายจ้าง โดยกรมการจัดหางาน หรือ สจจ. สจก. 1 - 10 จะมีหนังสือแจ้งความต้องการคนงานต่างด้าวผ่านสถานทูตประเทศต้นทางประจำประเทศไทยไปยังประเทศต้นทาง สำหรับระยะเวลาดำเนินการนำเข้าแรงงานต่างด้าวในส่วนนี้จะใช้เวลา 4 วันทำการ

2.การจัดส่งคำร้องความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว
ขั้นตอนต่อมาของการนำเข้าแรงงานต่างด้าว คือการที่กรมการจัดหางานจะมีหนังสือแจ้งความต้องการจ้างงานแรงงานต่างด้าว ผ่านสถานทูตประเทศต้นทางประจำประเทศไทยไปยังประเทศต้นทาง หรือติดต่อบริษัทนำเข้าแรงงานประเทศต้นทางเพื่อออกบัญชีรายชื่อ (Name List) ของคนงานต่างด้าวที่จะทำการนำเข้าแรงงานต่างด้าวเข้ามาในประเทศไทย

3.การดำเนินการของบริษัทนำเข้าแรงงานประเทศต้นทาง (เมียนมา ลาว กัมพูชา)
ขั้นตอนนำเข้าแรงงานต่างด้าวส่วนนี้จะเริ่มต้นประกาศรับสมัคร คัดเลือก ทำสัญญา จัดทำหนังสือ และจัดทำบัญชีรายชื่อ (Name List) ส่งให้กรมการจัดหางานผ่านสถานเอกอัครราชทูต จากนั้นกรมการจัดหางานจะนำส่งข้อมูลบัญชีรายชื่อคนต่างด้าวให้กับนายจ้าง ระยะเวลาดำเนินการนำเข้าแรงงานต่างด้าวในส่วนนี้จะขึ้นอยู่กับประเทศต้นทาง

4.การยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว
การนำเข้าแรงงานต่างด้าวลำดับต่อไป คือการขอรับใบอนุญาตทำงานแทนคนงานต่างด้าวโดยยื่นได้ ณ กรมการจัดหางาน หรือ สจจ / สจก 1 - 10 ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ โดยต้องมีเอกสาร และหลักฐานดังนี้ แบบบัญชีรายชื่อ (Name List), แบบ บต.25, เอกสารหลักฐานประกอบ, หลักฐานการได้รับวัคซีนโควิด-19 (ถ้ามี), หลักฐานการซื้อประกันสุขภาพบริษัทประกันภัย 4 เดือน, นายจ้างแจ้งขึ้นทะเบียนประกันสังคม, ชำระค่าคำขอ และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงาน 1,900 บาท / 2 ปี สำหรับกรณีนายจ้างนำเข้าเอง วางเงินค้ำประกัน 1,000 บาท ต่อคน และไม่เกิน 100,000 บาท

5.การอนุญาตให้นำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานกับนายจ้างในประเทศ
ขั้นตอนนำเข้าแรงงานต่างด้าวขั้นตอนนี้จะดำเนินการผ่านสำนักงานจัดส่งคนงาน จัดหางานกรุงเทพ / สำนักงานจัดหางานจังหวัด ทำหนังสือแจ้งกรมการจัดหางาน จากนั้นกรมการจัดหางานจะมีหนังสือแจ้งสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ ประเทศต้นทาง (กัมพูชา ลาว ), แจ้งสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (เมียนมา) และแจ้งสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เพื่อตรวจลงตราวีซ่า และเพื่ออนุญาตให้คนงานต่างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร

6.การเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร
เมื่อมาถึงขั้นตอนนี้ต้องทำการแจ้งวัน และเวลาเดินทางที่ศูนย์แรกรับเข้าทำงาน และสิ้นสุดการจ้างก่อนล่วงหน้า จากนั้นเจ้าหน้าที่ ตม. จะร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ สธ. เจ้าหน้าที่ ศูนย์แรกรับฯ ร่วมกันตรวจสอบ บัญชีรายชื่อ (Name list), หลักฐานการได้รับวัคซีน Covid-19 และกรมธรรม์ที่คุ้มครองแรงงานรักษาโควิด ก่อนจะนำเข้าแรงงานต่างด้าวเข้ามา

7.ขั้นตอนการดำเนินการ เมื่ออยู่ในศูนย์แรกรับเข้าทำงาน และสิ้นสุดการจ้าง
เมื่อสามารถนำเข้าแรงงานต่างด้าวเข้ามาได้แล้วจะต้องทำการตรวจ ATK ตรวจสุขภาพ 6 โรค อบรมผ่าน Video Conference ณ ที่ศูนย์แรกรับฯ และแจ้งเข้าทำงาน และรับใบอนุญาตทำงาน ณ ศูนย์แรกรับเข้าทำงาน และสิ้นสุดการจ้าง

8.เดินทางไปสถานประกอบการ
หลังจากดำเนินการนำเข้าแรงงานต่างด้าวทุกอย่างครบถ้วนแล้วนายจ้างก็สามารถรับคนงานต่างด้าวไปยังสถานที่ทำงานได้ พร้อม Name list ผลตรวจ Covid-19 จากนั้นก็ทำการแจ้งเข้าทำงาน และยื่นเอกสารเพิ่มเติม หลักฐานการตรวจสุขภาพ ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัดได้เลย

ทั้งหมดนี้คือ 8 ขั้นตอนการนำเข้าแรงงานต่างด้าวเข้ามาในประเทศไทยผ่านการทำ MOU แบบสังเขปที่เราได้รวบรวมขั้นตอนมาฝากกัน ส่วนใครที่รู้สึกว่าขั้นตอนเหล่านี้ยุ่งยาก และเสียเวลามากเกินไป ให้ผู้ช่วยจัดส่งคนงานต่างด้าว บริษัท เท็นไมล์เลเบอร์กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทนําเข้าแรงงานต่างด้าว MOU บริการคุณ ด้วยบริการจัดทำเอกสาร ประกอบด้วยคำร้องการนำเข้าแรงงานต่างด้าว การยื่นขอใบอนุญาตทำงานของคนงานต่างด้าว การขอรับบัตรทำงานแทนผู้ประกอบการในทุกกรณี รวมถึงยังช่วยแก้ไขปัญหาระหว่างการจ้างงาน เช่น เรื่องของการต่ออายุเอกสารคนงานต่างด้าวตลอดอายุสัญญาจ้าง 2 ปี ให้บริการตามมาตรฐาน ISO 9001:2015 เรายังมีระบบแจ้งเตือนเอกสารครบวาระ เพื่อให้นายจ้าง หรือองค์กรสะดวกที่สุดได้ ในราคาประหยัด



ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับการหาคนงานต่างด้าว

โทร. 098-270-4840, 086-528-4820
Email : 10milelabourgroup@gmail.com, 10mile.customer@gmail.com