แนวทางในการจัดการเอกสาร และกระบวนการทางกฎหมายในการจัดหาแรงงานต่างด้าว

แนะนำแนวทางในการจัดการเอกสาร และกระบวนการทางกฎหมายในการจ้างงานแรงงานต่างด้าว จัดหาแรงงานต่างด้าว

การหาแรงงานต่างด้าว (พม่า ลาว และกัมพูชา) เพื่อจ้างงาน นับเป็นหนึ่งในทางเลือกยอดนิยมของเหล่านายจ้างในปัจจุบันเป็นอย่างมาก เนื่องจากจำนวนแรงงานในประเทศไทยยังไม่เพียงพอต่อความต้องการในหลายสาขา สังเกตได้จากจำนวนแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าเราจะสามารถพบเจอกับเหล่าแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านได้ง่ายมากขึ้น แต่เนื่องจากพวกเขาเป็นชาวต่างชาติ ย่อมไม่สามารถสมัครทำงานได้แบบคนไทย เลยจำเป็นต้องมีการดำเนินการตามกฎหมาย และเตรียมเอกสารอยู่หลายขั้นตอน ซึ่งตามปกติแล้วเราจะมีวิธีการหาแรงงานต่างด้าวกันหลัก ๆ อยู่สองวิธี คือการหา และติดต่อด้วยตัวเองผ่านภาครัฐ หรือการใช้บริการจากบริษัทจัดหางานแรงงานต่างด้าว ผ่านการทำ Mou และการจ้างแรงงานที่เข้ามาอย่างถูกกฎหมาย และต้องการเปลี่ยนนายจ้าง เพื่อช่วยให้เหล่านายจ้างมือใหม่ และมือเก๋าที่อยากหาความรู้ และวิธีการจ้างแรงงานต่างด้าวอย่างถูกต้อง

ในบทความนี้บริษัท เท็นไมล์เลเบอร์กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทนําเข้าแรงงานต่างด้าว MOU จะมาแนะนำแนวทางในการจัดการเอกสาร และกระบวนการทางกฎหมายในการจ้างงานแรงงานต่างด้าว จัดหาแรงงานต่างด้าว ว่ามีอะไรบ้าง สามารถตามมาอ่านกันได้เลย

เอกสารที่ต้องเตรียมพร้อมเพื่อหาแรงงานต่างด้าว และจ้างงานแรงงานต่างด้าว (การทำ MOU)
วิธีการเดียวที่เราจะสามารถนำเข้าแรงงานต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ลาว พม่า และกัมพูชา ให้มาทำงานร่วมกันได้อย่างถูกกฎหมาย มีเพียงการทำ MOU หรือนําเข้าแรงงานต่างด้าว MOU เท่านั้น หากไม่มีการทำบันทึกข้อตกลงตรงนี้อย่างถูกต้องตามกระบวนการ จะถือว่ากำลังว่าจ้างคนงานต่างด้าวแบบผิดกฎหมาย (ยกเว้นในกรณีที่แรงงานต่างด้าวเข้ามาอย่างถูกกฎหมายแล้ว แต่ต้องการเปลี่ยนนายจ้าง หรือเข้ามาด้วย Work Permit ที่ต้องรายงานตัวทุก 90 วัน) ซึ่งก่อนที่เราจะไปพูดถึงขั้นตอนการดำเนินการกันตามกระบวนการทางกฎหมาย ก็ขอเริ่มต้นที่การเตรียมเอกสารสำคัญทั้งหมดให้ครบก่อน โดยแบ่งออกเป็นสองกรณี ดังนี้

เอกสารที่นายจ้างต้องเตรียม สำหรับทำ MOU (กรณีจ้างลูกจ้างคนใหม่)

  1. หนังสือรับรองบริษัท (กรณีนิติบุคคล)
  2. บัตรประชาชน
  3. ทะเบียนบ้าน
  4. แผนที่สถานที่ทำงาน
  5. รูปถ่ายสถานที่ทำงาน และที่พัก
  6. กรณีกิจการก่อสร้างต้องมีสัญญาว่าจ้างก่อสร้าง
  7. รายละเอียดความต้องการสวัสดิการต่าง ๆ

เอกสารที่นายจ้างต้องเตรียมสำหรับทำ MOU (กรณีจ้างลูกจ้างคนเก่า)

  1. บัตรประชาชน
  2. ทะเบียนบ้าน
  3. ใบเกิด
  4. พาสปอร์ต, ใบอนุญาตทำงาน (ฉบับเก่า)

ขั้นตอนในการดำเนินการนำเข้าแรงงานต่างด้าว และจ้างงานคนงานต่างด้าว (การทำ MOU)
หลังจากเตรียมเอกสารสำคัญกันครบแล้ว ก็มาถึงส่วนของการยื่นเรื่องตามกระบวนการจัดหางานตามกฎหมาย โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. ทำการยื่น Demand Letter เพื่อส่งเรื่องขอนำเข้าคนงานต่างด้าวกับประเทศต้นทาง เพื่อให้ฝั่งนั้นส่งบัญชีรายชื่อของแรงงานที่ผ่านการคัดเลือกตามความต้องการของนายจ้างมาให้เราได้เลือก
  2. หลังจากเลือกได้แล้วว่าต้องการว่าจ้างคนงานต่างด้าวคนใด ก็ทำการยื่นบัญชีรายชื่อแรงงานต่างด้าว เพื่อทำเรื่องว่าจ้าง โดยมีกระบวนการย่อยดังนี้
    • ยื่นบัญชีรายชื่อพร้อมแบบ ตท. 2 และเอกสารประกอบ ที่ สจจ/สจก.
    • ชำระค่าใบอนุญาตทำงาน 1,900 บาท กรณีนายจ้างยื่นเองจะต้องวางประกัน 1,000 บาท/แรงงาน 1 คน สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
    • นำหนังสือ และเอกสารที่ได้จาก สจจ/สจก ยื่นส่งต่อที่กรมการจัดหางาน
    • กรมการจัดหางานออกหนังสือถึงสถานทูตไทย และสตม.
    • แรงงานประทับตราวีซ่า (ประเภท NON L-A)
    • ตรวจลงตรา และประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร
    • อบรมที่ศูนย์แรกรับ และสิ้นสุดการการจ้าง ฯ
    • รับใบอนุญาตทำงาน SMART CARD
  3. ทำเรื่องแจ้งที่พักอาศัยแรงงานต่างด้าวภายใน 24 ชั่วโมง
  4. แจ้งการเข้าทำงานของแรงงานต่างด้าวภายใน 15 วัน
  5. ขั้นตอนสุดท้ายยื่นใบรับรองแพทย์ ตรวจสุขภาพภายใน 30 วัน และยื่นใบรับรองแพทย์ที่สำนักงานจัดหางาน

ถ้าไม่อยากยุ่งยากกับการเตรียมเอกสารแบบนี้ควรทำอย่างไรดี?

เชื่อว่าหลังจากที่ทุกคนได้เห็นจำนวนเอกสาร และขั้นตอนทั้งหมดที่ต้องดำเนินการนำเข้าแรงงานต่างด้าวแล้ว อาจจะรู้สึกท้อใจกับความเยอะของกระบวนการเหล่านี้ได้ เพราะต้องใช้เวลาดำเนินการประมาณ 45-120 วันเลยทีเดียว การที่ต้องดูแลกิจการไปด้วย แล้วยังต้องมาคอยตามเรื่องการนําเข้าแรงงาน MOU อีก ถือว่าเป็นภาระที่หนัก และเสียเวลาพอสมควร เพราะฉะนั้นหากใครกำลังมองหาทางลัดที่จะทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้น โดยไม่ต้องดำเนินการหาคนงานพม่า ลาว กัมพูชาด้วยตัวเอง การนําเข้าแรงงานต่างด้าว MOU ผ่านบริษัทนําเข้าแรงงานต่างด้าว MOU จึงเป็นหนึ่งในทางออกที่ดีที่สุด และสามารถช่วยทุ่นแรงได้มากที่สุดด้วย เนื่องจากบริษัทรับจัดหาแรงงานต่างด้าวเหล่านี้จะคอยดำเนินการให้เราตั้งแต่ต้นจนจบ เรามีหน้าที่เพียงนำส่งเอกสาร และรอรับคนงานต่างด้าวอย่างถูกต้องตามกฎหมายได้เลย ดังนั้นถ้าใครไม่อยากยุ่งยากก็ลองเลือกใช้วิธีการนี้ดูได้

ทั้งหมดนี้คือแนวทางในการจัดการเอกสาร และกระบวนการทางกฎหมายในการจ้างงาน จัดหาแรงงานต่างด้าว หรือนําเข้าแรงงานต่างด้าว MOU ทั้งหมดที่เราอยากแนะนำให้ทุกคนได้ทำความเข้าใจกันในวันนี้ หากใครมีเอกสารทั้งหมดที่เราลิสต์มาพร้อมแล้ว ก็สามารถดำเนินการตามขั้นตอนที่เราบอกได้เลย หรือถ้าใครเห็นด้วยว่าสิ่งเหล่านี้ใช้เวลานานมากเกินไป ไม่คุ้มค่าที่จะทำเอง หรือไม่มีเวลามากพอที่จะดำเนินการทั้งหมดได้ด้วยตัวคนเดียว และกำลังมองหาบริษัทนําเข้าแรงงานต่างด้าวอยู่ล่ะก็ บริษัท เท็นไมล์เลเบอร์กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทนําเข้าแรงงานต่างด้าว MOU ตัวแทนในการจัดหาแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศอย่างถูกต้องตามกฎหมาย รับจัดส่งคนงาน หาคนงานต่างด้าว นําเข้าแรงงานต่างด้าว MOU หมดปัญหางานเอกสารที่ทำให้นายจ้างต้องกังวลใจ ผู้ประกอบการสามารถระบุความต้องการได้ การันตีความไว้วางใจ และความเชื่อมั่นจากบริษัทชั้นนำหลายแห่งตลอดระยะเวลานานกว่า 10 ปี



ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับการหาคนงานต่างด้าว

โทร. 098-270-4840, 086-528-4820
Email : 10milelabourgroup@gmail.com, 10mile.customer@gmail.com